บทที่ 4-การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่พบบ่อย
ผลการเรียนรู้ | เนื้อหา | วิธีการสอน | กิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา | เวลา
ที่ใช้ |
สื่อการสอน | การประเมินผลการเรียนรู้ |
1.สร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
2.ตระหนักถึงความจำเป็นของการประเมินภาวะสุขภาพ |
บทนำ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เป็นการตรวจวิเคราะห์หาส่วนประกอบของสารเคมีในน้ำชนิดต่าง ๆ ของร่างกาย ซึ่งจะช่วยเพิ่มเติมข้อมูลจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายในการประเมินภาวะสุขภาพของร่างกาย ทำให้การวินิจฉัยปัญหาทางสุขภาพมีความถูกต้องมากขึ้น และสามารถวางแผนให้การพยาบาลอย่างเหมาะสม ดังนั้น พยาบาลควรมีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดเตรียมผู้ใช้บริการได้ถูกต้อง เลือกภาชนะในการเก็บสิ่งส่งตรวจได้เหมาะสม ส่งสิ่งส่งตรวจได้ถูกต้องตามแผนการรักษา และทราบว่าควรติดตามผลที่ใด เมื่อใด และสามารถแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ |
ขั้นนำ
-ทักทายนักศึกษา แนะนำตนเอง และแจ้งวัตถุประ สงค์ของการเรียน -นำเข้าสู่บทเรียนโดย สอบถามนักศึกษา 1-2 คนเกี่ยวกับสิ่งส่งตรวจที่รู้จักและเคยส่งตรวจ พร้อมทั้งเชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาการเรียน
|
-ศึกษาเอกสารประกอบการสอน (ก่อนชั่วโมงเรียน) -แลกเปลี่ยนประสบการณ์ของตน
|
10 นาที |
-Power point -เอกสารประกอบการสอน
|
-ประเมินความตั้งใจและการเตรียมความพร้อมในการเรียนของนักศึกษา การมีส่วนร่วมในการอภิปราย ในชั้นเรียนของนักศึกษา |
1.บอกบทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้
2.ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการเตรียมตรวจทางห้องปฏิบัติการ 3.อธิบายและบอกรายละเอียดการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจต่าง ๆ ได้ถูกต้อง -บอกถึงความสำคัญของการเก็บสิ่งส่งตรวจต่าง ๆ ที่ถูกต้องได้
|
1.บทบาทหน้าที่ของพยาบาล
} การเตรียมผู้รับบริการ – เตรียมร่างกาย จิตใจและจิตวิญญาณ – ศึกษาข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถต่อสถานการณ์ปัจจุบัน – ให้ข้อมูล ชี้แจงเหตุผล – เคารพและยอมรับในความแตกต่าง / ความเป็นบุคคล เตรียมร่างกายให้ถูกต้องการตรวจแต่ละชนิด } การเตรียมใบส่งตรวจและป้ายฉลาก – ความถูกต้อง รายละเอียดครบถ้วน – ชื่อ สกุล HN AN ตึกผู้ป่วย วัน เวลา ชนิดการส่งตรวจ – อื่น ๆ เฉพาะ เช่น การได้รับยา ATB ในกรณีเพาะเชื้อต่าง ๆ } การเก็บสิ่งส่งตรวจ – ศึกษาขั้นตอน / วิธีการเพื่อความถูกต้อง – ตำแหน่ง / ชนิด / ส่วนที่เก็บ เวลา จำนวน – อธิบายขั้นตอน ในกรณีผู้รับบริการเก็บส่งส่งตรวจเอง – ระวัง !!!! ความผิดพลาด ในกรณีส่งตรวจหลายคน / ชนิด – ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนส่งห้อง LAB การเตรียมการเพื่อการตรวจทางห้องปฏิบัติการ } การบรรจุตัวอย่าง -เลือด -ปัสสาวะ -เสมหะ -อุจจาระ -ของเหลวในร่างกาย เนื้อเยื่อ } การเก็บรักษา } การติดตามผล } การแปลผลการตรวจ
|
– ขั้นสอน
-ถามนักศึกษา 2-3 คน ในหัวข้อ บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และร่วมกันอภิปราย จากนั้นผู้สอนบรรยายสรุปเนื้อหา – บรรยายแบบมีส่วนร่วม การเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจแบบต่าง ๆ -ร่วมกันอภิปรายสรุปการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจต่าง ๆ ผู้สอนอธิบายสรุปเพิ่มเติม
|
-ศึกษาเอกสารประกอบการสอน (ก่อนชั่วโมงเรียน)
-นศ.ร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น -ศึกษางานตามที่ได้รับมอบหมาย ทำรายงานและนำเสนอตามเวลาที่กำหนด (นำเสนอนอกตารางเรียน)
|
50 นาที | -Power point
-เอกสาร ประกอบ การสอน -ใบงานสถานการณ์เพื่อวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
|
-การตอบคำถามและการแสดงความคิดเห็น
-สอบปลายภาค |
1. บอกหลักการตรวจทางโลหิตวิทยาได้
2. วิเคราะห์ผลการตรวจ CBC ได้ 3. วิเคราะห์ผลการตรวจ Coagulation factor ได้ |
2. การแปลผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1) การตรวจทางโลหิตวิทยา การตรวจทางโลหิตวิทยาพื้นฐาน โดยทั่วไปสามารถบอก ภาวะซีด(anemia), ภาวะเลือดออก (bleeding), การติดเชื้อ (infection) และมะเร็ง (Malignancy) ได้ โดยการตรวจพื้นฐานและพบบ่อย ๆ ได้แก่ CBC, Coagulation factor, blood smear , red cell indices และ reticulocyte count. ส่วนการตรวจทางโลหิตวิทยาแบบพิเศษหรือเฉพาะเจาะจง เช่น Inclusion body, OF/DCIP, agglutination test , Hb typing เป็นต้น 1.1) CBC หรือ Complete blood count เป็นการตรวจส่วนประกอบของเลือด โดยมีส่วนประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ RBC, WBC และ platelet 1. Red Blood Cell ในส่วนของ RBC แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ -RBC ได้แก่ Red blood cell count ใช้บอกปริมาณของเม็ดเลือดแดง, Hct, Hb บอกปริมาณ/สัดส่วนของเม็ดเลือดแดง -RBC indices เช่น MCV, MCH, MCHC บอกขนาดและการติดสีของเม็ดเลือดแดงในร่างกาย -RBC morphology เป็นการบอกลักษณะรูปร่างของเม็ดเลือดแดง จากการทำ blood smear โดยสรุป ส่วนของเม็ดเลือดแดงสามารถบอกภาวะซีด(Anemia) หรือภาวะลืดข้น(Polycytnemia) โดยพิจารณาจากค่า RBC, Hct, Hb ได้ และสามารถพิจารณาจากค่า RBC indices ได้เช่น ลักษณะ microcytic hypochromic anemia เป็นภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก เป็นต้น 2. WBC WBC แบ่งออกเป็น 3 ส่วนเช่นเดียวกับ RBC ได้แก่ -WBC count เป็นการนับจำนวนของเม็ดเลือดขาว -differential WBC เป็นการจำแนกชนิดของ WBC แบบต่าง ๆ โดยทั่วไปใน WBC 100% จะมี Neutrophil, lymphocyte, eosinophil, monocyte และ basophil ซึ่งแต่ละชนิดมีความจำเพาะต่อการติดเชื้อชนิดต่าง ๆ เช่น neutrophil สูงขึ้นนึกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ lymphocyte สูงขึ้นนึกถึงการติดเชื้อไวรัส เป็นต้น -WBC cell เป็นการดูลักษณะของเซลล์แบบต่างๆ ของ WBCซึ่งปกติจะไม่พบ เช่น blast cell เป็นเซลล์ตัวอ่อนของ WBC หากมีค่าสูงมากเป็นล้าน ๆ ตัวจากปกติ 5,000-10,000 แสดงว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น 3. Platelet Plt. เป็นค่าที่บ่งบอกความสามารถในการหยุดของเลือดเมื่อมีการฉีกขาดของหลอดเลือด โดยค่าปกติอยู่ระหว่าง 150,000-500,000 เมื่อน้อยกว่า 100,000 จะเป็นภาวะที่เกร็ดเลือดต่ำ -ค่าน้อยกว่า 70,000 สามารถมีเลือดออกได้ง่ายหากได้รับอุบัติเหตุใหญ่ ๆ หรือการกระทบกระแทกแรง ๆ -ต่ำกว่า 50,000 สามารถมีเลือดออกได้ง่ายหากได้รับอุบัติเหตุเล็ก ๆ หรือการกระทบกระแทก -น้อยกว่า 20,000 เรียกว่าภาวะ spontaneous bleeding มีภาวะเลือดออกเองได้แม้ไม่ได้รับบาดเจ็บต่าง ๆ 1.2) coagulation factor การตรวจ coagulation factor คือ การตรวจหาปัจจัยในการแข็งตัวของเลือด ซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่ VCT, PT, PTT, INR ซึ่งหากค่าเหล่านี้สูงกว่าปกติ แสดงว่าเลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติ |
-บรรยายแบบมีส่วนร่วม และกระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถาม
-อภิปรายและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน -ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญ พร้อมเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย -มอบหมายงานให้ นศ.แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม ศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่งรายงานและนำเสนอผลการวิเคราะห์ (นำเสนอนอกตารางเรียน) |
-ศึกษาเอกสารประกอบการสอน (ก่อนชั่วโมงเรียน)
-นศ.ร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น -ศึกษางานตามที่ได้รับมอบหมาย ทำรายงานและนำเสนอตามเวลาที่กำหนด (นำเสนอนอกตารางเรียน)
|
50 นาที | -Power point
-เอกสาร ประกอบ การสอน -ใบงานสถานการณ์เพื่อวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
|
-การตอบคำถามและการแสดงความคิดเห็น
-สอบปลายภาค |
1. บอกหลักการตรวจทางเคมีและจุลชีววิทยาได้
2. วิเคราะห์ผลการตรวจเคมีแบบต่าง ๆ ได้ถูกต้อง 3. วิเคราะห์ผลการตรวจทางจุลชีววิทยาแบบต่าง ๆ ได้ |
2) การตรวจทางเคมีและจุลชีววิทยาคลินิก
2.1) การตรวจทางเคมี พื้นฐานที่พบบ่อย ได้แก่ blood sugar, BUN/Cre, Uric acid, Electrolyte, LFT, TFT 1. blood sugar เป็นการตรวจหาน้ำตาลในเลือด โดยทั่วไปนิยมตรวจได้แก่ FBS, FPG, OGTT, Post prandial blood sugar ซึ่งใช้ตรวจหาภาวะ hyper-hypoglycemia และ โรคเบาหวาน 2. BUN/Creatinine เป็นการตรวจหา BUN และ creatinine โดยส่วนใหญ่แสดงถึงการกรองของไต (GFR) แต่หากพิจารณาค่า BUN อย่างเดียวอาจแสดงถึงภาวะ metabolism ของโปรตีนได้ 3. Uric acid เป็นการตรวจหาค่า uric acid ในร่างกาย ซึ่งจะพบมากในผู้ที่มีกรดคั่งในร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคเก๊าต์ 4. Electrolyte เป็นการตรวจหาระดับเกลือแร่ในร่างกาย โดยส่วนใหญ่จะตรวจหา ค่า K, Na, Co- และ CL และหากต้องการตรวจเพิ่มเติมก็สามารถทำได้เช่น Ca, P, Mg เป็นต้น 5. Liver function Test เป็นการตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ ซึ่งส่วนใหญ่มีหน้าที่หลัก ได้แก่ synthetic function ตรวจหา albumin, globulin , protein, cholesterol , Excretory function ตรวจดู Bilirubin ประเภทต่างๆ เช่น direct bilirubin , Hepatocellular damage คือ เอนไซม์ที่ตับปล่อยออกมาเมื่อเซลล์ตับมีการบาดเจ็บหรือถูกทำลาย เช่น SGOT,SGPT และดูการอุดตัน Obstruction เช่น ALP, GGT เป็นต้น 6. Thyroid function test สำหรับการตรวจดูการทำงานของต่อมไทรอยด์ ส่วนใหญ่จะตรวจดูในกรณีที่สงสัยโรคไทรอยด์ เช่น Hyperthyroidism หรือ hypothyroidism โดยค่าที่นิยมตรวจได้แก่ TRH, TSH, FT3, FT4
2.2) การตรวจทางจุลชีววิทยา เป็นการตรวจเพื่อบอกถึงการติดเชื้อจากเชื้อโรค เช่น พยาธิ แบคทีเรีย หรือไวรัส ซึ่งสามารถบอกลักษณะของการติดเชื้อได้ โดยทั่วไปนิยมตรวจ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1. Stain หรือ Smear เป็นการตรวจโดยการนำส่งสิ่งตรวจไปย้อมสีหรือไปดูโดยใช้กล้องจลุทรรศน์ การตรวจที่นิยมตรวจได้แก่ Stool examination, Sputum AFB, Gram stain, blood smear เป็นต้น 2. Culture เป็นการตรวจโดยการนำสิ่งส่งตรวจไปเพาะเชื้อ เช่น การตรวจ Hemoculture, Urine culture โดยการรายงานผลจะรายงานเป็นชื่อเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ |
-บรรยายแบบมีส่วนร่วม และกระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถาม
-อภิปรายและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน -ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญ พร้อมเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย -มอบหมายงานให้ นศ.แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม ศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่งรายงานและนำเสนอผลการวิเคราะห์ (นำเสนอนอกตารางเรียน) |
-ศึกษาเอกสารประกอบการสอน (ก่อนชั่วโมงเรียน)
-นศ.ร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น -ศึกษางานตามที่ได้รับมอบหมาย ทำรายงานและนำเสนอตามเวลาที่กำหนด (นำเสนอนอกตารางเรียน)
|
40 นาที | -Power point
-เอกสาร ประกอบ การสอน -ใบงานสถานการณ์เพื่อวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
|
-การตอบคำถามและการแสดงความคิดเห็น
-สอบกลางภาค |
1. วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
|
3) การตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ
การตรวจอื่นๆ ที่นิยมตรวจ ได้แก่ 1. Urine analysis เป็นการวิเคราะห์ส่วนประกอบในปัสสาวะ 2. Lipid profile ตรวจหาภาวะไขมันในเส้นเลือด เช่น CHO, TG, HDL, LDL 3. Cardiac enzyme เป็นการตรวจหาเอนไซม์ที่ปล่อยออกมาจากกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น Trop-T, Trop-I, CK-MB 4. Hepatitis profile เป็นการตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ B และ C โดยตรวจ HBsAg, HBcAg, anti-Hbc, Anti-HBs และ Anti HCV 5. Tumor marker ต่าง ๆ เป็นการตรวจหาระดับของสารบ่งชี้มะเร็งในร่างกาย ที่นิยมและพบบ่อย ๆ เช่น AFP, CEA, PSA, beta-HCG 6. Serology immunization เช่น Lepto titer, scrub titer, mellioid titer, ASO titer เป็นต้น 7. การตรวจพิเศษเฉพาะต่าง ๆ เช่น serum amylase ตรวจในผู้ป่วยที่สงสัยโรคตับอ่อนอักเสบ, iron level หรือ serum ferritin ในผู้ที่สงสัยภาวะขาดธาตุเหล็ก, Thick film/Thin film ในผู้ที่สงสัยโรคมาลาเรีย, ตรวจ tourniquet test ในผู้ที่สงสัยโรค DHF เป็นต้น |
-บรรยายแบบมีส่วนร่วม และกระตุ้นให้นักศึกษาตอบคำถาม
-อภิปรายและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน -ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญ พร้อมเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย -มอบหมายงานให้ นศ.แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม ศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่งรายงานและนำเสนอผลการวิเคราะห์ (นำเสนอนอกตารางเรียน) |
-ศึกษาเอกสารประกอบการสอน (ก่อนชั่วโมงเรียน)
-นศ.ร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น -ศึกษางานตามที่ได้รับมอบหมาย ทำรายงานและนำเสนอตามเวลาที่กำหนด (นำเสนอนอกตารางเรียน)
|
30 นาที | -Power point
-เอกสาร ประกอบ การสอน -ใบงานสถานการณ์เพื่อวิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
|
-การตอบคำถามและการแสดงความคิดเห็น
-สอบกลางภาค |
1.บอกความ สำคัญของการตรวจทางห้อง ปฏิบัติการเพื่อการวินิจฉัยโรคได้
2.สรุปสาระสำคัญของการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้ถูกต้อง |
สรุป
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะช่วยเพิ่มเติมข้อมูลจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายในการประเมินภาวะสุขภาพของร่างกาย ทำให้การวินิจฉัยปัญหาทางสุขภาพมีความถูกต้องมากขึ้น และสามารถวางแผนให้การพยาบาลอย่างเหมาะสม พยาบาลควรมีความรู้ความเข้าใจ สามารถวางแผนในการตรวจหรือส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจที่เหมาะสมและสามารถวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง |
-บรรยายสรุป และกระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
-ผู้สอนสรุปประเด็นสำคัญ พร้อมเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย -ชมเชยนักศึกษา |
-นศ.ร่วมอภิปรายและแสดงความคิดเห็น
|
10 นาที |