บทที่ 3 ยุโรปสมัยกลาง
เมื่อกรุงโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรโรมัน ถูกพวกอนารยชน “ตีแตก” ในปี ค.ศ.476 ส่งผลให้ยุโรป เข้าสู่ช่วงเวลาที่เรียกว่า “ยุคกลาง” (Middle Age) ลักษณะของพวกอนารยชน ศึกษาได้ในเอกสาร ต่อไปนี้
ลักษณะที่สำคัญของยุโรปยุคกลางคือ อิทธิพลของศาสนาคริสต์ที่โดดเด่นกว่าสถาบันอื่นๆ กระทั่งมีนักวิชาบางท่านกล่าวว่าเป็น “ยุคมืด” เนื่องจากความรู้ใดๆ ก็ตามที่ขัดต่อหลักคำสอนของศาสนาคริสต์ กลายเป็นความรู้ของพวก “นอกรีต” หรือพ่อมด/แม่มด ในส่วนของฝ่ายอาณาจักร รูปแบบการปกครองเน้นหลักการกระจายอำนาจในระบบ “ศักดินาสวามิภักดิ์” (Feudal) ซึ่งประกอบไปด้วยชนชั้นต่างๆ ได้แก่ กษัตริย์, ขุนนางเจ้าที่ดิน (Lord, Vassal), เสรีชน, และทาสติดที่ดิน (Serf) โดยมีนักบวชเป็นชนชั้นพิเศษ ยุคกลางของยุโรป อยู่ในช่วงเวลาราว ศตวรรษที่ 5-15 ศึกษารายละเอียดจากเอกสาร ดังต่อไปนี้
ระบบศักดินาสวามิภักด์ (Feudal)
นอกจากศูนย์กลางของยุคกลางจะเกิดขึ้นในยุโรปตะวันตก ทว่ามีอารยธรรมอื่นๆ ที่เจริญขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน 2 แหล่ง คือ อารยธรรมไบแซนทีน ที่มีศูนย์กลางที่คอนสแตนติโนเปิล (ปัจจุบันอยู่ในประเทศตุรกี) และอารยธรรมอิสลามในดินแดนตะวันออกกลาง ศึกษารายละเอียดตามเอกสาร ดังนี้